ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การจับสัตว์ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องมือการเกษตร
ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย
การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน
การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี
ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ
ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
๑. ด้านอุตสาหกรรมและหัตกรรม
การจักสานไม้ไผ่
เครื่องจักสานในภาคเหนือ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น สภาพการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทำให้ภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จักสานที่สำคัญ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังมีวัตถุดิบหลายชนิด ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ เช่น กก แหย่ง ใบลาน และไม้ไผ่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งไม้ไผ่ ซึ่งมีหลายชนิด ที่ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี
ภูมิปัญญาด้านการจักสาน ในเทศบาลตำบลบ้านกลางได้ดำเนินการโดย ประชาชนในหมู่บ้าน แท่นทอง-ข่วงมื่น หมู่ที่ 8 ตำบลมะขุนหวาน อำเภอ สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งรวมกลุ่มในการจักสาน บ้างก็จักสานโดยผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นอาชีพ โดยส่วนมาจะเป็นการจักสานที่ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ตะกร้า กระบุ้ง ซ้าหวด กัวะข้าว ก่องข้าว แอบข้าว โตก ฝาชี สุ่มไก่ เป็นต้น
๒. ด้านศิลปกรรม
การทำผางประทีป
ผางประทีป เป็นเครื่องสักการบูชาในพระพุทธศาสนา คำว่า
ผาง คือ ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ใช้เป็นถ้วยสำหรับใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมันและไส้ของประทีสที่ทำมาจากเส้นฝ้าย ส่วนคำว่า
ประทีส คือแสงสว่าง
ในช่วงประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนานิยมจุดผางประทีสเป็นพุทธบูชา สืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือก และวันหนึ่งขณะที่แม่กาออกไปหาอาหารได้เกิดพายุทำให้ไข่ทั้งห้าฟองของแม่กาเผือกถูกพัดตกจากรังไหลไปตามแม่น้ำ มีแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง เมื่อไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์เป็นเพศชาย และได้บวชเป็นฤๅษีทั้งห้าองค์ เมื่อฤๅษีทั้งห้าได้พบกัน จึงไต่ถามถึงมารดาของแต่ละองค์ แต่ละองค์ก็ตอบว่า แม่ไก่เก็บมาเลี้ยง แม่นาคเก็บมาเลี้ยง แม่เต่าเก็บมาเลี้ยง แม่โคเก็บมาเลี้ยง และแม่ราชสีห์เก็บมาเลี้ยง ฤๅษีทั้งห้าองค์จึงสงสัยว่า แม่ที่แท้จริงของตนเป็นใคร จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ ด้วยคำอธิษฐาน จึงทำให้พกาพรหมผู้เป็นแม่ได้แปลงกายเป็นกาเผือกบินลงมาเล่าเรื่องในอดีตให้ฤๅษีทั้งห้าฟัง และได้บอกว่าหากคิดถึงแม่ ให้นำด้ายดิบมาฟั่นเป็นตีนกาจุดเป็นประทีปบูชาในวันยี่เป็ง ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายประทีสตีนกา จึงทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ (คัมภีร์อานิสงส์ผางประทีส, ม.ป.ป.)
การทำถ้วยผางประทีป
1. ตำดินเหนียวให้ละเอียด ด้วยครกไม้ขนาดใหญ่ ลักษณะเดียวกันกับครกตำข้าว ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องบดดิน
2. ผสมดินตำละเอียดแล้วกับน้ำ นวดให้เข้ากัน ให้เหนียว
3. นำดินมาวางบนแท่นปั้นดิน แล้วปั้นตามขนาด ลักษณะคล้ายถ้วย และใส่ขอบลายหยักโดยใช้ฝากระป๋องน้ำอัดลมแบบจีบประกบกันทาบกับขอบผางประทีป
4. เมื่อปั้นและใส่ขอบลายเรียบร้อยแล้ว สำหรับผางประทีปเล็ก ให้นำเข้าเตาเผาได้เลย ส่วนผางประทีสขนาดใหญ่ ต้องนำมาผึ่งแดดให้แห้งเสียก่อน ก่อนนำเข้าเตาเผา
5. เมื่อผางประทีปสุกได้ที่ รอให้เย็นก่อน แล้วจึงนำออกจากเตา และนำมาล้างฝุ่นขี้เถ้า และผึ่งให้แห้ง
การทำไส้ผางประทีปตีนกา
1. ชุบฝ้ายสีขาวกับขี้ผึ้งเหลวผสมน้ำมันมะพร้าว
2. ผึ่งฝ้ายที่แช่เรียบร้อยให้แห้ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้ขี้ผึ้งละลายได้
3. ฟั่นฝ้าย ทำให้เป็นสามแฉกแบบตีนกา ให้ขนาดพอดีกับผางประทีป
4. ใส่ไส้ตีนกาวางลงตรงกลางถ้วย โดยให้ฝ้ายสามแฉกเป็นฐาน และฝ้ายแกนตั้งขึ้น
5. ต้มขี้ผึ้งในหม้อต้มน้ำหรือถ้าทำจำนวนมาก ให้ต้มในปีบขนาดใหญ่หรือกระทะ จนเหลวเป็นน้ำเทียน
6. หยอดเทียนเหลวลงในผางประทีป จากนั้นผึ่งในที่ร่มให้แห้ง
ภูมิปัญญาด้านการทำผางประทีป ในเทศบาลตำบลบ้านกลางได้ดำเนินการโดย ประชาชนในหมู่บ้าน พระบาท ยั้งหวีด หมู่ที่ 3 ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
๓. ด้านภาษาและวรรณกรรม
การแสดงดนตรีพื้นเมือง (จ๋างซอ)
การแสดงพื้นเมืองพิ้นบ้าน ที่มีในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง มักจะเป็นการเล่นเป็นวง เรียกว่า สะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล้อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถือว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่น ล้านนา ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง (ขลุ่ยตาด) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง (ซอ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมือง
ซึ่งในเทศบาลตำบลบ้านกลาง ได้มีการเรียนการสอน และการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ที่ให้ความสนเข้าศึกษา ที่หมู่บ้านแท่นทอง – ข่วงมื่น หมู่ที่ 8 ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะมีครูภูมิปัญญา เช่น แม่ครูบัวซุม ครูบุญส่ง ชุ่มศรี ครูอุดม ปัญญา ในการให้ความรู้และถ่ายทอด
๔. ภูมิปัญญาด้านแพทย์ไทย
ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน
สมุนไพร (Herb) และ สมุนไพรไทย (Thai Herb) คือ พืช ผัก และผลไม้ที่ถูกนำมาใช้เป็นยาและสิ่งบำรุงร่างกายมานานนับพันปี โดยที่สมุนไพรเหล่านี้มีทั้งแบบนำผล ใบ ราก เปลือก ยาง เนื้อไม้ เถา หัวและดอก หรือทั้งต้นมาใช้งาน ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรไทยเหล่านี้มีทั้งการนำมารับประทานสด การนำมาต้มรับประทานแบบยาแผนโบราณ บางชนิดก็ใช้ทาหรือพอกเพื่อรักษาโรค โดยมีนายไพจิตร หมู่บ้านต้นกอก หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นปราชญ์ชาวบ้านในเรื่องของสมุนไพร รายละเอียดสอบถามที่เบอร์โทร 087-185-6700
๕. ภูมิปัญญาด้านประเพณีและวัฒนธรรม
การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทเขิน
ชาวไทเขิน หรือ ไทขึน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่งในตระกูลไทลื้อที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า จีน ไทย และประเทศลาว ตั้งชุมชนหนาแนนที่บริเวณลุมแม่น้ำขึนเมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ ชาวไทเขินที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจากาวิละ เป็นช่างฝีมือที่อยู่ด้านทิศใต้ของกำแพงเมืองเชียงใหม่ บริเวณบานชางหลอ บานวัวลาย หมื่นสาร บานนันทาราม ชุมชนระแกง ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือเครื่องรักเครื่องหาง ซึ่งภายหลังเรียกชื่อเฉพาะวาเครื่องเขิน นอกจากนี้ยังกระจายตัวอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง สันกำแพง แม่แตง ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงรายในเขตอำเภอแม่สาย และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ดังนั้นในด้านวัฒนธรรม ชาวไทเขินมีความคล้ายคลึงกับาวล้านนามากที่สุด คือมีขนบ ประเพณี ภาษา และตัวอักษรอย่างเดียวกับชาวไทยล้านนา แต่ก็จะมีข้อแตกต่างกันในด้านของสำเนียงภาษา รูปแบบอักษร และพิธีกรรมทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามชาวไทเขินแม้ว่าจะถูกปกครองโดยคนในชนชาติอื่น คือ พม่า ที่ปกครองมานาน แต่ชาวไทขึนก็ไม่ละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะอักษรประจาติที่ชาวไทขึนยึดรูปแบบเดิมมากที่สุด
ศาสนาและความเชื่อ
ชาวไทเขินนับถือพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต และการจัดการระบบนิเวศน์ ด้วยการนับถือธรรมชาติ บูชาผีบรรพบุรุษโดยมีศาลปู่ตา ใจบ้าน เสื้อบ้านเป็นศูนย์รวมจิตใจ
๖. ภูมิปัญญาด้านโภชนา (อาหารเหนือ)
อาหารเหนือ คือ อาหารไทย อาหารพื้นเมืองของคนไทย ภาคเหนือ อาหารล้านนา อาหารเหนือมีอะไรบ้าง เอกลักษณ์ของอาหารเหนือ คือ อาหารเหนือ ไม่นิยมใส่น้ำตาล สูตรอาหารไทย แบบง่ายๆของคนภาคเหนือ อาหารพื้นเมืองเหนือ มีมากมาย และมีชื่อเรียกที่แตกต่างจากทุกภาค
ลักษณะเด่นของอาหารเหนือ
สำหรับเอกลักษณ์ของอาหารเหนือ คือ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานของอาหารจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผัก ปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์ เป็นต้น อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ มีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
ภาคเหนือของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรือง อาณาเขตขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และ ลาว อาหารของชาวล้านนา จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนเผ่าต่าง ๆมากมาย อาหารของภาคเหนือ นั้นจะ กินข้าวเหนียว เป็น อาหารหลัก และ ทานคู่กับ น้ำพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง และ แกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค เป็นต้น ด้วยสภาพอากาศของทางภาคเหนือ มีอากาศเย็น ลักษณะของอาหาร จึงมีความแตกต่างจากภาคอื่นๆของไทย อาหารส่วนใหญ่ของชาวเหนือ มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว ซึ่งช่วยให้ร่างกายอบอุ่น พืชป่า ที่มักนำมาปรุงอาหารในอาหารเหนือ เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน เป็นต้น คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อาหารไทยภาคเหนือ ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี โดยได้มีการรวมกลุ่มของแม่บ้าน บ้านทุ่งเสี้ยวหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในการสอนการทำอาหารแก่ผู้ที่สนใจในการศึกษา
/ckfinder/userfiles/files/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5.pdf