โครงสร้างองค์กร
  โครงสร้างส่วนราชการ
  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการดำเนินงาน
  รายงานติดตามและประเมินผล
  เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
  เทศบัญญัติทั่วไป
  การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงและการตรวจสอบภายใน
  รายงานจัดซื้อจัดจ้าง
  รายงานงบการเงิน

ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองไปยังระดับตำบลหมู่บ้าน

นโยบายของรัฐบาล11ด้าน
ข้อมูลการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง

ข่าวล่าสุดนโยบายของรัฐบาล
นายกรัฐมนตรีย้ำการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ทุกคนต้องร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรม สร้างสังคมคุณภาพ เพื่อนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
นายกรัฐมนตรีชี้ภาคใต้มีศักยภาพที่โดดเด่นและความหลากหลายทางด้านศิลปวัฒนธรรม ความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
​วันนี้ (24 พ.ค.60) เวลา 10.30 น. ณห้องประชุมConvention Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานแสดงนิทรรศการและกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การขับเคลื่อน Thailand 4.0 ในภาคใต้” เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์  โดยเฉพาะการขับเคลื่อนของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ด้วยการศึกษาวิจัย ตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” รวมทั้งเพื่อให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม ผู้สนใจ ทั้งในพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงได้รับทราบถึงนโยบายของรัฐบาลโดยตรง
 
 
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมี นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นายสุวิทย์เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  หม่อมหลวงปนัดดา  ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  พลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ/เอกชน คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษาทั้งในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานประมาณ1,600คน

​โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง“การขับเคลื่อนThailand 4.0 ในภาคใต้” ว่าเป็นเป้าหมายของคนไทยและประเทศไทยที่จะไปให้ถึงอนาคต ซึ่งคนไทยทุกคนจำเป็นต้องช่วยกัน และร่วมมือกันทำงานให้ไปถึงเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในวัยกำลังศึกษาในวันนี้ ซึ่งจะเป็นผู้ที่อยู่ในยุคของ Thailand 4.0 อย่างแท้จริงในวันข้างหน้า ทั้งนี้ Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาลที่จะเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยจากรูปแบบเดิม ไปสู่รูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง  เป็นประเทศที่มีรายได้สูงและกระจายไปสู่ทุกภาคส่วน โดยเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจเป็น “ทำน้อย ได้มาก” ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มุ่งสร้างสังคมคุณภาพ และมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน​รัฐบาลจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนประเทศไปสู่ยุค Thailand 4.0 ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่ (New Engines of Growth) เป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น โดยเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้านวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรแบบสมัยใหม่เน้นเรื่อง การบริหารจัดการและการนำเทคโนโลยีมาใช้ (Smart Farming) เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการก็เปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่ Smart Enterprises และ Startup ที่มีศักยภาพสูง ในขณะที่แรงงานก็จะเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะที่สูงขึ้น
        
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทยนั้น นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า รัฐบาลมีแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 โดยมุ่งเน้นการใช้แนวทางพลังประชารัฐ คือ การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ชุมชน จังหวัด สถาบันการศึกษา
 
และสถาบันวิจัยต่างๆ รวมทั้งยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์ของพระราชาเป็นพื้นฐานในการพัฒนา และใช้ความได้เปรียบของประเทศไทยในความหลากหลายเชิงชีวภาพ และความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ตลอดจนยึดหลักการสร้างความเข้มแข็งจากภายในและเชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก 

ขณะเดียวกันรัฐบาลได้กำหนดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยมีกรอบแนวทางที่สำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้าน การปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เแต่ทุกกลุ่ม คือ 1.0  2.0 และ3.0  จะต้องจับมือกันเพื่อก้าวไปสู่ Thailand 4.0 พร้อมกัน รวมทั้งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกภาคส่วนในการดำเนินงานและส่งเสริมหรือสนับสนุนไปสู่เป้าหมายไม่ว่าจะเป็นในภาคส่วนของเศรษฐกิจ ภาคการศึกษา ภาคการเมือง ประชาสังคม และภาคประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของงานด้านการศึกษา ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป้าหมายของ Thailand 4.0 นอกจากเศรษฐกิจ 4.0 แล้ว ยังมีสังคม 4.0 คือการที่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ (มีความเป็นธรรม เข้มแข็ง มีความเหลื่อมล้ำน้อย มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศร่วมกัน) และคนไทย 4.0 คือคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 (มีความรู้ ทักษะ ความสามารถสูง มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม เป็น Digital Thai และเป็นคนไทยสากล (Global-Thai)ด้วย

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งได้ก่อตั้งมา และจะครบ 50 ปี ในปีหน้า ซึ่งตลอดระยะเวลาเกือบ 5 ทศวรรษที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนการศึกษาทั้งด้วยงานวิจัยอันเป็นพื้นฐานในการทำให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวกับด้านการเกษตร
 
เช่น นวัตกรรมยางพาราที่มีความโดดเด่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน อาหารทะเล พลังงาน และวัสดุชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจะนำไปสู่การปฏิบัติให้มากขึ้น และขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาสู่การผลิตให้ได้ ซึ่งภาคใต้ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมีอัตลักษณ์ของตนเอง มีความโดดเด่นและความหลากหลายทางด้านศิลปวัฒนธรรม ความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยว และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความเข้มแข็งของภาคใต้ และสอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล สิ่งสำคัญต้องสร้างความปลอดภัยเกิดขึ้นในพื้นที่ให้ได้ สร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง สร้างการพัฒนาและสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศเดินหน้าต่อไปได้

รัฐบาลได้กำหนดแบ่งกลุ่มเทคโนโลยี/อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาขึ้นในประเทศ ออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรและอาหารใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Food & Agriculture - Biotech) กลุ่มสุขภาพใช้เทคโนโลยีชีวการแพทย์ (Health & Wellness – Biomedical) กลุ่มเครื่องมืออัจฉริยะและหุ่นยนต์ใช้เทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ (Smart Devices & Robotics– Mechatronics) กลุ่มดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตออฟติงใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital & IOT – Embedded Technology) และกลุ่มสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมใช้ Service Design ในการสร้างมูลค่า (Creative & Culture - High Value Services) ซึ่งทั้งหมดกำลังเดินหน้าดำเนินการโดยความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ ในเรื่องการพัฒนาคนและการพัฒนาเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสามารถมีบทบาทหรือส่วนร่วมได้มากเพราะงานวิจัยต่างๆส่วนมากอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 

พร้อมทั้ง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอความร่วมมือกับพลังทุกภาคส่วนในการร่วมกันพัฒนาภาคใต้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาภาคใต้ไปสู่ Thailand 4.0 และหวังว่านักศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ จะเร่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของประเทศ สนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ รวมทั้งพยายามมองหาโอกาสจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาตนเองและศึกษาเรียนรู้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์นอกห้องเรียน ขณะเดียวกันได้ฝากให้นักเรียน นักศึกษาหันมาเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น รวมทั้งสาขาวิศวะที่เกี่ยวข้องกับรถไฟต่าง ๆ ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศและนโยบายเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศ  ตลอดจนนักเรียนและนักศึกษาต้องมีหลักคิดที่ถูกต้อง รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ปรับตัวเรียนรู้ให้ทันกับ
 
การเปลี่ยนแปลงและใช้สื่อโชเชียลมีเดียอย่างรู้เท่าทัน รวมถึงการรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อันจะทำให้ประเทศมีความมั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืนต่อไป
​-----------------------------------
 
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก